วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของ Power Supply

 
 
        สวัสดีค่ะ เพื่อนๆทุกคน มาพบกันอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้มีเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ไอทีมาฝากเพื่อนๆกันนะคะ ในวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าจากสาย p1  แบบ 20 pin connector ของ Power Supply เรามาดูกันนะคะว่า ค่าที่เราวัดได้จะตรงกับค่ามาตรฐานกันหรือเปล่า
 
 
เราไปลุยกันเลย......
 
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ากันก่อนนะคะ
 
        สำหรับอุปกรณ์วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้านั้น คือ "มัลติมิเตอร์ (Multimeter)" ซึ่งเราจะใช้แบบที่ดูได้ง่าย ๆ เรียกว่า ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters)
 

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters)
 
   เราจะเริ่มการวัดกันเลยนะคะ
 
         1. ถอดสายพาวเวอร์ ซัพพลาย ออกจากเคสมาเตรียมไว้
 
 
พาวเวอร์ ซัพพลาย (Power  Supply)
 
2. ใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบพินที่ 14 และ 15 (Power switch ON) ดังภาพ

 

 
สาย p1
 
3. นำดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters) ปรับค่าสเกลวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่แรงดัน DCV  โดยเลือกย่านวัดไปที่ค่าที่สูงกว่าค่าที่เราจะวัด ในที่นี้เราจะปรับไปที่แรงดัน DC 20V เนื่องจากค่าที่มาตรฐานเราวัดจะไม่เกิน 20V ดังนี้
 
 
4. นำสายวัดมิเตอร์สีดำ (-) ต่อลงกราวด์หรือพินสีดำ หรืออาจเสียบลงน็อตยึดตัวเคสของ Power Supply ก็ได้ เพื่อที่จะสะดวกต่อการวัด แต่ในกรณีที่เราทำน็อต Power Supply รูเสียบมันไม่ลึก จึงต้องจับไว้ ดังภาพ
 

 
5. เสียบปลั๊กไฟเข้ากับ PSU
 
6. เริ่มการวัดโดยจะวัดพินไหนก่อนก็ได้ แต่ถ้าจะดีควรเริ่มวัดพินที่ 1 จะได้ไม่งงและสับสน
 

 
7. ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับค่ามาตรฐาน ดังตาราง
 
เรามาชมวิดีโอการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเพิ่มเติมกันเลย


วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การเปิด-ปิด คอมพิวเตอร์นอกเคส

       สวัสดีค่ะ พบกันอีกแล้วนะคะ วันนี้เราก็มีสาระดีๆเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(PC) มากฝากเพื่อนๆกันนะคะ วันนี้จะเป็นการเปิด-ปิด และรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์นอกเคสค่ะ จะเป็นยังไงนั้น.....

 
เราไปดูกันเลย.....
 
 
ก่อนอื่นนะคะ เราจะเปิดฝาเคสออกก่อน จากนั้นก็สำรวจเมนบอร์ด พาวเวอร์ซัพพลาย แรม ฮาร์ดดิส และอื่นๆที่สำคัญ
 
 
นี่คือเมนบอร์ดเครื่องที่เราใช้ทดลองนะคะ เมนบอร์ดตัวนี้จะเป็นของ Acer ค่ะ
 

ฮาร์ดดิสนี่ก็จำเป็นต้องใช้ในการออนนอกเคสนะคะ
 

 

สายแพแบบ 80 เส้น เราใช้ต่อฮาร์ดดิส
>>>>ขาดไม่ได้เลยขอบอก เดี๋ยวเปิดไม่ติด<<<<
 

ต่อเสร็จแล้วก็จะได้ประมาณนี้นะคะ
 
 
ต่อไปเรามาดูวิธีการออนนอกเคสกันเลย ว่าทำยังไง
 
 
นี่เป็นเมนบอร์ดของเครื่องที่เราใช้ทดลองจริง
 
นี่คือเมนบอร์ดจาก Data Sheet รุ่นเดียวกันกับเครื่องที่เราใช้ทดลอง
เรานำมาให้ดูเพื่อความชัดเจนและถูกต้องนะคะ
 
เรามาดูวิธีการจิ้มพินกันเลย....
 
 
1. วิธีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เราจะจิ้มพินที่ 6 และ 8 โดยใช้ไขควงในการจิ้ม จิ้มให้ติดและดึงเอาไขควงออกทันที  (ในการจิ้มนั้นเราต้องมีสมาธิสูง ไม่วอกแวก และที่สำคัญอย่าจิ้มผิด)
 
 

 2. วิธีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เราก็จะจิ้มพินที่ 6 และ 8 โดยใช้ไขควงจิ้มให้เครื่องปิดแล้วยกไขควงออกทันที (ในการจิ้มนั้นเราไม่ควรประมาท นิ่งไว้นะคะ ระวังจิ้มผิดพิน)
 
 
 3. วิธีการรีสตาร์ทเครื่องนั้น เราจะจิ้มพินที่ 5 และ 7 โดยใช้ไขควงจิ้มให้เครื่องดับแล้วยกไขควงออกทันที (ในการจิ้มนั้นเราไม่ควรประมาท นิ่งไว้นะคะ ระวังจิ้มผิดพิน)
 
 
เปิดเครื่องติดแล้วนะคะ
 
ไปชมวิดีโอที่เราทดสอบกันเลยนะคะ ว่าผลจะเป็นยังไง
 
 
       วิดีโอนี้อาจวุ่นวายไปนิด สาระมีนิดหน่อย แต่ทางผู้จัดทำก็ตั้งใจทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
 
       สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทุกคนที่ติดตาม หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะคะ...
 
 


วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เปลี่ยนพัดลม พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

 

            สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน เจอกันอีกแล้วนะคะ ในบล็อกที่ผ่านๆ มา ก็จะเป็นการแกะ งัด แงะ คอมพิวเตอร์ PC เปลี่ยนแรม เปลี่ยนฮาร์ดดิส คอมพิวเตอร์โน็ตบุคนะคะ วันนี้ดิฉันก็จะพาเพื่อนๆ เปลี่ยนพัดลม พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) กันนะคะ
 
 
เราไปลุยกันเลย.....
 

 

แกะฝาครอบพาวเวอร์ซัพพลายออกเสียก่อน
 
 
จับคู่พาวเวอร์ซัพพลาย กับเครื่องอื่น แล้วหาสายต่อพัดลม คือสายสีแดงและสีดำ
 
 
เมื่อเราหาสายพัดลมเจอแล้ว เราก็ทำการละลายตะกั่วทั้งสายสีแดงและสีดำ
 
 
ละลายตะกั่วเสร็จแล้ว.......
 
 
แกะพัดลมออกเพื่อเปลี่ยนกับอีกเครื่อง
>>ดูเหมือนว่าเพื่อนจะลุ้นกับเรานะ<<
 
 
ทำการบัดกรีสายพัดลมของอีกเครื่องที่เปลี่ยนกับเครื่องเรา
 
 
เสร็จแล้วค่ะ เรามาทดสอบกันเลยดีกว่าว่าผลจะเป็นยังไง.....???
 
 
เป็นไงละ....อึ้งไปเลยยย 555 ไม่คิดว่าจะทำได้ละสิ
 

 
ประกอบเครื่องกับคืนสภาพเดิม เรามาลุ้นกันดีกว่าว่าเครื่องที่เราเปลี่ยนพาวเวอร์ซัพพลายแล้ว
>>>จะเปิดเครื่องติดหรือป่าว<<<
 

แอะๆๆๆๆ เปิดเครื่องติดแล้วค่ะ
>>>ภารกิจสำเร็จลุล่วง<<<
 
 
>>>>ผลปรากฎว่า เครื่องไม่ละเบิด เปิดติดด้วยซ้ำ<<<<
 
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะคะ